เดือน ก.ย. แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย +0.25% พร้อมปรับโตปี 2567 พุ่ง 4.4%​

  • SVLM (Thailand) by SVLM (Thailand)
  • 9 years ago
  • Business
  • 0
HIGHLIGHTS :
• มองว่าประเด็นวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์จะไม่ลุกลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในวงกว้าง เนื่องจากหนี้ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับสินเชื่อทั้งหมดในระบบธนาคาร
• ยังต้องติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจจีนในระยะถัดไปอย่างใกล้ชิด รวมถึงการทยอยออกมาตรการต่างๆของรัฐบาลจีน 
• ผู้ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนในหุ้นจีนให้รอติดตามสถานการณ์ โดยเฉพาะการเจรจากับเจ้าหนี้ของ Country Garden
• ผู้ที่ถือกองทุนหุ้นจีนอยู่สามารถถือต่อได้ หากอยู่ในสัดส่วน 10-15% ของเงินลงทุน 
• แต่หากมีในสัดส่วนที่สูงกว่า 10-15% สามารถลดสัดส่วนลงมาได้ โดยแนะนำส่วนที่เกิน ไปลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ K-USA-A)A, K-USA-A(D) หรือหุ้นอินเดีย K-INDIA

กนง.มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%  

ในการประชุมของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 มีมติเอกฉันท์ ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี เป็น 2.50% จาก 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้ โดยการบริโภคภาคเอกชนยังเป็นแรงส่งเศรษฐกิจต่อเนื่อง  ​

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 2.8% ในปี 2566 (ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 3.6%) และ 4.4% ในปี 2567 (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ 3.8%) โดยมีแรงส่งสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชน สำหรับปีนี้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงจากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า
อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะเร่งสูงขึ้นในปี 2567 จากอุปสงค์ในประเทศภายใต้บริบทที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่องและภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว อีกทั้งจะได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ

อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำในปี 2566 แต่มีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2567   ​

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย และคาดว่าจะอยู่ที่ 1.6% และ 2.6% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำในปี 2566 จากผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐและผลของฐานที่สูงในปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในปี 2567 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% และ 2% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยง โดยเฉพาะในปี 2567 จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายภาครัฐ และต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด

ตลาดคาดว่า การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในวัฏจักรรอบนี้ของไทย ​   ​

ตลาดคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ของไทย เว้นแต่ว่าเศรษฐกิจและเงินเฟ้อจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากที่ธปท.คาดการณ์ไว้  โดยข้อความในแถลงการณ์ผลการประชุมระบุไว้ว่า  “การทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมาจนถึงการประชุมครั้งนี้
ทั้งนี้ ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว” ซึ่งน่าจะทำให้การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในอนาคตจำกัดมากขึ้น
อย่างไรก็ดีในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยมีความผันผวนมาก จากปัจจัยหลายส่วนทั้งการเคลื่อนไหวตามทิศทางพันธบัตรสหรัฐฯที่อัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้น และความกังวลต่อความชัดเจนของนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่อาจมีนัยต่อการออกพันธบัตรในปีงบประมาณหน้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาวะตลาดมีการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง
คาดว่าผลกระทบในระยะข้างหน้าจำกัด แม้ยังอาจเห็นความผันผวนในระยะสั้นอยู่บ้าง จากการส่งสัญญาณนโยบายทางเงินจากการประชุมกนง.ล่าสุด นโยบายการระดมเงินภาครัฐที่มีแนวทางชัดเจนขึ้น อีกทั้งตลาดได้มีการรับรู้ปัจจัยลบเรื่องดังกล่าวไปส่วนใหญ่แล้ว
​KAsset ยังคงมุมมองต่อตราสารหนี้ไทยเป็น Positive จาก 3 เหตุผล ดังนี้
1. ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูง นักลงทุนจะได้ประโยชน์จากการถือกองทุนที่ตราสารจ่ายดอกเบี้ยสูง
2. ระยะถัดไป หาก Fed ส่งสัญญาณหยุดการขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแรงหนุนที่ชัดเจนต่อตลาดตราสารหนี้ได้ และเมื่อดอกเบี้ยกลับไปเป็นขาลง นักลงทุนก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีจากราคาตราสารหนี้ที่ปรับขึ้น (ราคาตราสารหนี้จะสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงกันข้าม)
3. ช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ต ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง
อย่างไรก็ดี ระยะสั้นนี้อาจจะยังเห็นความผันผวนระหว่างทางได้ โดยเฉพาะกองทุนที่มี Duration ยาวกว่า แต่คาดว่าความผันผวนเริ่มมีจำกัด จังหวะที่แนวโน้มดอกเบี้ยใกล้จุดสูงสุด ทำให้การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น 
คำแนะนำการลงทุน
สำหรับกองทุน T+1 : ผู้ถือหน่วยเดิม​สามารถถือต่อไปได้ หากยังไม่มีหน่วยลงทุน ก็สามารถเข้าลงทุนได้
จังหวะที่ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูง นักลงทุนจะได้ประโยชน์จากการถือกองทุนที่ตราสารจ่ายดอกเบี้ยสูง
– K-SF (ลงทุนอย่างน้อย 1-3 เดือน)
– K-SFPLUS (ลงทุนอย่างน้อย 3-6 เดือน)
สำหรับกองทุน T+2 : ผู้ถือหน่วยเดิมสามารถถือต่อไปได้ แต่ยังไม่เเนะนำให้เข้าลงทุนเพิ่ม เพราะมีความผันผวนจะสูงกว่ากอง T+1​​
ระยะถัดไป หาก Fed ส่งสัญญาณหยุดการขึ้นดอกเบี้ย จะเป็นแรงหนุนที่ชัดเจนต่อตลาดตราสารหนี้ได้ และเมื่อดอกเบี้ยกลับไปเป็นขาลง นักลงทุนก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีจากราคาตราสารหนี้ที่ปรับขึ้น (ราคาตราสารหนี้จะสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงกันข้าม)
– K-PLAN1 (ลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน)
– K-FIXEDPLUS (ลงทุนอย่างน้อย 1 ปี)​

Join The Discussion

Compare listings

Compare